วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Anti Depressant เป็นพิษ

Anti Depressant เป็นพิษ
ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการเจ๊บท้องมากเหมือนมีมีดมาเสียบ หรือ เป็น ลม เป็นแพนิค กลัว ทันที และ กลัวมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อกินยา และ ไม่หายภายใน 3 อาทิตย์ แพทผู้ไม่เชี่ยวชาญบางท่าน จะให้ กินเพิ่มขึ้น เพราะคิดว่า อาการของคนไข้หนัก จึงเพิ่มขนาดยา แต่จริงๆแล้ว ตัวผู้ป่วย ไม่สามารถทานยาจำพวกนี้ได้ จึง มีอาการ paradoxical effect เกิดขึ้น

รักษาโรคแพนิคโดยธรรมชาติหรือยา

คำแนะนำ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง สิ่งที่ควรทำ ออกกำลังกายตามสมควร ตามความสามารถ

        1. โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงเสียชีวิต เหมือนที่ผู้ป่วยมักกลัว
        2. ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย และรักษา
        3. ไม่ควรบรรเทาอาการด้วยการเสพสุรา หรือใช้ยานอนหลับ 
            เพราะอาการอาจรุนแรงขึ้นเมื่อหยุดเสพ
        4. ลดหรืองด กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ประเภทโคล่าทุกชนิด
        5. ออกกำลังกายตามสมควรตามความสามารถ
        6. เมื่ออาการต่าง ๆ ทุเลาแล้ว ควรออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยหวาดกลัว และลองทำกิจกรรมที่เคยหลีกเลี่ยง 
            โดยเริ่มทีละเล็กน้อยแต่สม่ำเสมอ
        7. ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เพื่อลดระดับของความตึงเครียด


การฝึกควบคุมการหายใจเพื่อการผ่อนคลาย

        1. นอนหงายตามสบายบนเตียง หรือพื้นที่ในบริเวณที่สงบ
        2. มือทั้งสองประสานวางอยู่บนหน้าท้องไม่เกร็ง ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออกและหัวไหล่
        3. สูดลมหายใจเข้าช้าๆพร้อมทั้งสังเกตและจดจ่ออยู่ที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจที่ผ่านรูจมูกเข้าไปลึกเต็มที่จนหน้าท้อง
            ขยายขึ้น รู้สึกได้จากการที่มือทั้งสองถูกยกขึ้นช้า ๆ และหัวไหล่เคลื่อนขึ้น
        4. เมื่อหายใจเข้าเต็มที่แล้ว นับ 1,2,3 ในใจช้า ๆ
        5. ผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ พร้อมทั้งสังเกต และจดจ่อที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจที่เคลื่อนที่ออกผ่านรูจมูกจนหน้าท้อง
            แฟบลง มือทั้งสองลดต่ำลง
        6. เมื่อหายใจออกจนหมด นับ 1,2,3 ในใจช้า ๆ
        7. เริ่มหายใจเข้าและหายใจออกสลับกันไป เป็นจังหวะสม่ำเสมออย่างน้อย 10 ครั้ง
        8. เมื่อมีความชำนาญอาจทำเวลานั่งโดยพิงเก้าอี้ตามสบาย มือทั้งสองวางไว้ที่หน้าขาหรือประสานกันอยู่ที่หน้าท้อง วิธีการ
            เหมือนกับการควบคุมการหายใจในท่านอนหงายทุกประการ

         ในปัจจุบันเราพอจะทราบว่าผู้ป่วย โรคแพนิค มีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนที่ทำให้เกิดอาการ “ตื่นตระหนก” โดยเป็น ความผิดปกติของสารสื่อนำประสาท บางอย่างเราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้รักษา โรคแพนิค จะมี 2 กลุ่ม คือ         
          1. ยาป้องกัน เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า ปรับยาครั้งหนึ่งต้องรอ 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นผลคืออาการแพนิคจะห่างลง และเมื่อเป็นขึ้นมาอาการก็จะเบาลงด้วย เมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นเลย ยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าบางตัว เช่น เล็กซาโปร (lexapro) โปรแซก (prozac) โซลอฟ (zoloft) ยากลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดการติดยาและสามารถหยุดยาได้อย่างช้าๆเมื่อโรคหาย ในการรักษาด้วยยาเราจะจ่ายทั้งยาป้องกันและยาแก้  

         เพราะในช่วงแรก ๆ ยาป้องกันยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยจะยังมีอาการจึงยังต้องใช้ยาแก้อยู่ เมื่อยาป้องกันเริ่มออกฤทธิ์ผู้ป่วยจะกินยาแก้น้อยลงเอง แพทย์จะค่อยๆเพิ่มยาป้องกันจนผู้ป่วย "หายสนิท" คือไม่มีอาการเลย แล้วให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปเป็นเวลา 8-12 เดือน หลังจากนั้นจะให้ผู้ป่วยค่อยๆ หยุดยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้โดยไม่มีอาการกลับมาอีก แต่ก็มีบางรายที่มีอาการอีกเมื่อลดยาลง ในกรณีแบบนี้เราจะเพิ่มยากลับขึ้นไปใหม่แล้วค่อย ๆ ลดยาลงช้า ๆ
       
         2. ยาแก้ เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ใช้เฉพาะเมื่อเกิดอาการขึ้นมา เป็นทีกินที กินแล้วหายเร็ว ได้แก่ยาที่คนทั่วไปรู้จักกันในนามของยา “กล่อมประสาท” หรือยา “คลายกังวล” เช่น แวเลี่ยม (valium) แซแนก (xanax) อะติแวน (ativan) ยาประเภทนี้มีความปลอดภัยสูง (แปลว่าไม่มีพิษ ไม่ทำลายตับ ไม่ทำลายไต) แต่ถ้ารับประทาน ติดต่อกันนานๆ (2-3 สัปดาห์ขึ้นไป) จะเกิดการติดยาและเลิกยากและเมื่อหยุดยากระทันหันจะเกิดอาการขาดยา ซึ่งจะมีอาการเหมือนอาการแพนิค ทำให้แยกแยะไม่ได้ว่าหายหรือยัง ดังนั้นแพทย์จะเน้นกับผู้ป่วยว่าให้กินเฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้น ยังไม่เป็นห้ามกิน รอให้เริ่มมีอาการแล้วค่อยกินก็ทันเพราะมันออกฤทธิ์เร็ว

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โรคแพนิค

  โรคแพนิค เป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีคนเป็นกันมากและเป็นกันมานานแล้ว แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จักและยังไม่มีชื่อโรคอย่างเป็นทางการในภาษาไทย บางคนอาจเรียกโรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ " ประสาทลงหัวใจ" แต่จริงๆ แล้วโรคนี้ไม่มีปัญหาอะไรที่หัวใจ และ ไม่มีอันตราย เวลามีอาการผู้ป่วย จะรู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน หรือหายไม่เต็มอิ่ม ขาสั่น มือสั่น มือเย็น บางคนจะมีอาการวิงเวียนหรือมึนศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน ขณะมีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัวด้วย  

         โดยที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วย โรคแพนิค จะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตาย กลัวเป็นโรคหัวใจ บางคนกลัวว่าตนกำลังจะเสียสติหรือเป็นบ้า  อาการต่าง ๆ มักเกิดขึ้นทันทีและค่อย ๆ รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็มที่ในเวลาประมาณ 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อย ๆ ทุเลาลง อาการมักจะหายหรือเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการแพนิคหายผู้ป่วยมักจะเพลีย และในช่วงที่ไม่มีอาการผู้ป่วยมักจะกังวลกลัวว่าจะเป็นอีก

        พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ทำให้ความสามารถในการประกอบอาชีพลดลง และความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด ตึงเครียดมากขึ้น ผู้ป่วยมักคิดว่าตนเองเป็นโรคหัวใจหรือ โรคร้ายแรง เวียนไปพบแพทย์บ่อยๆ ซึ่งการตรวจร่างกายและการทดสอบพิเศษจะไม่พบความผิดปกติ

         อาการ โรคแพนิค จะเกิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้และคาดเดาได้ยาก แต่ผู้ป่วยมักพยายามสังเกตุ และเชื่อมโยงหาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เพื่อที่ตนจะได้หลีกเลี่ยง และรู้สึกว่าสามารถควบคุมมันได้บ้าง เช่น ผู้ป่วยบางราย ไปเกิดอาการขณะขับรถก็จะไม่กล้าขับรถ บางรายเกิดอาการขณะกำลังเดินข้ามสะพานลอยก็จะไม่กล้าขึ้นสะพานลอย ผู้ป่วยบางรายไม่กล้าไปไหนคนเดียว หรือไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวว่าถ้าเกิดอาการขึ้นมาอีกจะไม่มีใครช่วย ในบางรายอาจมีเหตุกระตุ้นจริงๆบางอย่างได้ เช่น การออกกำลังหนัก ๆ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำโคล่า ในกรณีแบบนี้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

         ขณะเกิดอาการ ผู้ป่วย โรคแพนิค มักกลัวและรีบไปโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินมักตรวจไม่พบความผิดปกติ และมักได้รับการสรุปว่าเป็นอาการเครียดหรือคิดมาก ซึ่งผู้ป่วยก็มักยอมรับไม่ได้และปฏิเสธว่าไม่ได้เครียด เมื่อเกิดอาการอีกในครั้งต่อมา ผู้ป่วยก็จะไปโรงพยาบาลอื่นและมักได้คำตอบแบบเดียวกัน ผู้ป่วย โรคแพนิค หลาย ๆ รายไปปรึกษาแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพ โดยเฉพาะหัวใจซึ่งก็มักได้รับการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด และไม่พบความผิดปกติอะไรที่สามารถอธิบายอาการดังกล่าวได้ 

         ซึ่งก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยกังวลมากขึ้นไปอีก อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเรียกว่า อาการแพนิค (panic attack) ซึ่งแปลว่า "ตื่นตระหนก" เราจะสังเกตุได้ว่าอาการต่าง ๆ จะคล้ายกับอาการของคนที่กำลังตื่นตระหนก ใน โรคแพนิค ผู้ป่วยจะเกิดอาการแพนิคนี้ขึ้นมาเอง โดยไม่มีเหตุกระตุ้น และคาดเดาไม่ถูกว่าเมื่อไรจะเป็นเมื่อไรจะไม่เป็น การไม่รู้ว่าตนกำลังเป็นอะไรจะยิ่งเพิ่มความตื่นตระหนกให้รุนแรงขึ้น 

          อาการแพนิค ไม่มีอันตราย อาการนี้ทำให้เกิดความไม่สบายเท่านั้นแต่ ไม่มีอันตราย สังเกตุได้จากการที่ผู้ป่วยมักจะ มีอาการมานาน บางคนเป็นมาหลายปี เกิดอาการแพนิคมาเป็นร้อยครั้ง แต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไรสักที บางคนเป็นทีไรต้องรีบไปโรงพยาบาล "แทบไม่ทัน" แต่ไม่ว่ารถจะติดอย่างไรก็ไป "ทัน" ทุกครั้งเพราะอาการ แพนิค ไม่มีอันตราย

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิธีถอนยาLexapro,Seroxat,Zoloftและอื่นๆ

วิธีถอนยา Lexapro, Seroxat, Zoloftและ อื่น Anti Depressants ๆ
การถอนยาเป็นวิธีที่ basic มาก แต่ แพทในปัจจุบัน ยังขาดความรู้ ในการถอนยา และ ข้อมูล ว่าอะไร คือโรค อะไร คือ อาการถอนยาจาก บริษัท ขายยา อย่างมาก
วิธีถอนยา ที่ ง่าย ที่ สุด คือ ลดปริมาณยา 50% ลง ทุกๆ 1 เดือน

วันแรกที่ ลด ท่านจะต้อง สั่งเกตุ อาการ ของ ตัวเอง ให้ดี ภายใน วันที่ 7  อาการจะหนักที่ สุด จน ถึง วันที่ เก้า อาการจะเริ่ม ดีขึ้น เรื่อยๆ แต่ผู้ป่วยบางลาย ไม่สามารถทนอาการระหว่าง 1-7 วันได้ ให้ ยกกลับมากินใหม่ ทันที อาการถอนยา จะหาย ไปใน 1-2 วัน เสร็จ แล้ว มา เริ่ม ใหม่ ที่ ปริมาณยา 25% แทน

ผู้ป่วยที่เป็น เด๊กไวรุ่น จะ มี ระบบ metabolism ที่ดีกว่าผู้ใหญ่ จะทำให้การถอนยา นั้น ยากขึ้นสำหรับ บางคน ให้ ลด ปริมานยาลงเหลือแค่ 10% ต่อ เดือน แต่จะช้าหน่อยเท่านั้น เอง

อาการหลังวันที่ 8 จะดีขึ้นเรื่อยๆ จนถึง วันที่ 15 หรือบาง รายอาจใช้เวลา ถึง วันที่ 20 หลังจากนั้น ให้ เวลาสมอง 2 อาทิต ที่จะ ปรับ สมดุล ก่อนที่จะ เริ่ม ลดยาอีกครั้ง

อย่า ลดยา โดยการหยุด ยา โดย ฉับพลันเด็ดขาด และ อย่า ทานยา วันเว้น วัน เพราะนั้น จะทำให้ สมองท่านปรับ สภาพ กับ ปริมานยาใหม่ ไม่ได้ โดยเฉพาะยาที่ มี half life สั้น อย่าง lexapro, seroxat, zoloft ยกเว้น prozac ที่สามารถ ทาน วันเว้น วันได้

แพทในปัจจุบันขาดความรู้อย่างมากกับการ ถอนยา โดยที่ ไม่รู้ ว่า มีผู้ป่วยถึง 70% จะมีอาการถอนยา กลุ่มนี้ อีก 30% เท่านั้น ที่จะ ถอนยา โดยไม่มีอาการ อะไร ได้

ข้อมูลจากหนังสือ ( Antidepressant Solutionn by Dr.Joseph Glenmullen )

วิธีดูว่าอาการโรคซึมเศร้า,กลัว,กังวลหรือแพนิคยังมีอยู่หรือมันเป็นอาการถอนยา

วิธีดูว่าอาการโรคซึมเศร้า,กลัว,กังวลหรือแพนิค ยังมีอยู่ หรือ มันเป็นอาการถอนยา กัน แน่

อาการถอนยา
- จะมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ใน 1 - 14 วัน อาการจะหนักที่สุดวันที่ 8 และ จะค่อยๆ ถุเราลง จนหมด
แต่ ระหว่าง 1 - 14 วัน ผู้ป่วย 70% ไม่สามารถถนอาการถอนยานี้ได้ และ แพท สับสนนึกว่า ยังไม่หายจึงบอกผู้ป่วย ให้ กลับมาทานยาใหม่

อาการถอนยา มี ดังนี้ วิงเวียน, ปวดหัว, ความรู้สึกเหมือนหัวถูกช็อตไฟฟ้า, เหงื่อออก, คลื่นไส้, นอนไม่หลับ, วิงเวียน, สั่น, สับสน, ฝันร้าย, กระสับกระส่าย, กลัว, ตื่นเต้น, ปวด เมื่อยตามต้นขอ ตามตัว, การคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้าย ผู้อื่น

กระตุก ท้องเสีย เจ็บท้อง โกรธ โวยวายเพราะอืดอัด ตาพร่ามัว, มึนหัว , หดหู่, ร้องไห้, รู้สึกป่วย เหมือน เป็นไข้

อาการยังมีอยู่
จะเริ่มค่อยๆ กลับมาหลังจาก เดือนนึง ไปแล้ว และ ค่อยๆ หนักขึ้น หลังจาก หยุดยาไป ไม่ใช่ เริ่ม ทันทีเมื่อหยุดยา

ยารักษาโรคซึมเศร้า ( Antidepressant ) คืออะไร

ยารักษาอาการซึมเศร้าเป็นที่นิยมในอเมริกาอย่างมากในปัจจุบัน
สามารถปรับสารเคมีในสมองสำหรับผู้เป็นโรคกังวล กลัว และ เศร้าได้ อย่างดี
ยาจะออกฤทธิ์เต็มที่ สอง ถึง สาม อาทิตขึ้นไป บางผู้ป่วย ใช้เวลา ถึง สี่ถึงห้า อาทิตย์กว่ายาจะออกฤทธิเต็มที่

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณได้ รับยานี้ไปแล้ว การเลิก เป็นสิ่งที่ยากมาก
แพท ปัจจุบัน ยังขาดข้อมูลการเลิก ยารักษาอาการซึมเศร้า อย่างมากจาก บริษัท ยารักษาอาการซึมเศร้า
อาการถอนยา มักพบบ่อย ถึง 70% ของผู้ใช้ ยา Seroxat, Effexor, Zoloft, Lexapro, หรือ ยาอื่นๆที่ มี half life สั้นๆ ประมาณ 12-36 ช.ม. ส่วนยา prozac นั้นเป็นที่นิยมใช้ อย่างมากใน อเมริกาเพราะ มี half life ถึง 6 วัน และ อีกครึ่ง อยู่ใน ตัวผู้ป่วย ถึง 27 วัน จึงให้ เวลาสมองใน การ ปรับ สารเคมี ให้เข้ากับตัวผู้ป่วย เพราะฉะนั้น อาการถอนยา พบแค่ 15% จากจำนวนผู้ป่วย ที่ใช้ยา นี้

ปัจจุบัน ในต่างประเทษ แพท ให้ยารักษาอาการซึมเศร้านี้ง่ายจนเกินไป จนเกิด วิกฤตการณ์ มวลชนได้ออกมา ฟ้องร้องค่าเสียหาย บริษัทยา กัน มากมาย เพราะ ไม่สามารถ ทนกลับอาการ ถอนยา ได้

แพทในปัจจุบัน มักสับสน ว่า อาการ ถอนยา คือ อาการ ของคนไข้
กลับ เพิ่ม ยาให้ คนไข้ ส้ะอย่างงั้น แพทในปัจจุบันยังขาดการให้ข้อมูลผู้ป่วยสำหรับ อาการ ถอนยา และ side effect ต่างๆ ของยารักษาอาการซึมเศร้า อย่างมากจนน่า เป็นห่วง ในอนาคต

Dr. Glen Mullen จาก Harvard Medical School, www.drGlenMullen.com ได้เขียนหนังสือชื่อ ว่า the Anti Depressant Solution ออกมาจำหนาย ในปี 2004 เพื่อ เพิ่มความรู้แก่มวลชน ถึงภัยอันตรายของ ยากลุ่มนี้ว่า มันไม่ต่างกับการทำงาน ของ cocain แต่อย่างไร ซึ่ง cocain เคยเป็นยารักษาโรคซึมเศร้า เมื่อ 1800-1900 ปีที่แล้ว เป็นที่แพร่หลาย ก่อนที่ จะค้นพบถึง ภัยอันตราย ของ cocain ใน ปัจจุบัน

บทหน้าเราจะเล่าถึง วิธีดูว่า  อาการถอนยา หรือ อาการจากตัวเรา จะดูอย่างไร