วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รักษาโรคแพนิคโดยธรรมชาติหรือยา

คำแนะนำ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง สิ่งที่ควรทำ ออกกำลังกายตามสมควร ตามความสามารถ

        1. โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงเสียชีวิต เหมือนที่ผู้ป่วยมักกลัว
        2. ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย และรักษา
        3. ไม่ควรบรรเทาอาการด้วยการเสพสุรา หรือใช้ยานอนหลับ 
            เพราะอาการอาจรุนแรงขึ้นเมื่อหยุดเสพ
        4. ลดหรืองด กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ประเภทโคล่าทุกชนิด
        5. ออกกำลังกายตามสมควรตามความสามารถ
        6. เมื่ออาการต่าง ๆ ทุเลาแล้ว ควรออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยหวาดกลัว และลองทำกิจกรรมที่เคยหลีกเลี่ยง 
            โดยเริ่มทีละเล็กน้อยแต่สม่ำเสมอ
        7. ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เพื่อลดระดับของความตึงเครียด


การฝึกควบคุมการหายใจเพื่อการผ่อนคลาย

        1. นอนหงายตามสบายบนเตียง หรือพื้นที่ในบริเวณที่สงบ
        2. มือทั้งสองประสานวางอยู่บนหน้าท้องไม่เกร็ง ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออกและหัวไหล่
        3. สูดลมหายใจเข้าช้าๆพร้อมทั้งสังเกตและจดจ่ออยู่ที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจที่ผ่านรูจมูกเข้าไปลึกเต็มที่จนหน้าท้อง
            ขยายขึ้น รู้สึกได้จากการที่มือทั้งสองถูกยกขึ้นช้า ๆ และหัวไหล่เคลื่อนขึ้น
        4. เมื่อหายใจเข้าเต็มที่แล้ว นับ 1,2,3 ในใจช้า ๆ
        5. ผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ พร้อมทั้งสังเกต และจดจ่อที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจที่เคลื่อนที่ออกผ่านรูจมูกจนหน้าท้อง
            แฟบลง มือทั้งสองลดต่ำลง
        6. เมื่อหายใจออกจนหมด นับ 1,2,3 ในใจช้า ๆ
        7. เริ่มหายใจเข้าและหายใจออกสลับกันไป เป็นจังหวะสม่ำเสมออย่างน้อย 10 ครั้ง
        8. เมื่อมีความชำนาญอาจทำเวลานั่งโดยพิงเก้าอี้ตามสบาย มือทั้งสองวางไว้ที่หน้าขาหรือประสานกันอยู่ที่หน้าท้อง วิธีการ
            เหมือนกับการควบคุมการหายใจในท่านอนหงายทุกประการ

         ในปัจจุบันเราพอจะทราบว่าผู้ป่วย โรคแพนิค มีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนที่ทำให้เกิดอาการ “ตื่นตระหนก” โดยเป็น ความผิดปกติของสารสื่อนำประสาท บางอย่างเราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้รักษา โรคแพนิค จะมี 2 กลุ่ม คือ         
          1. ยาป้องกัน เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า ปรับยาครั้งหนึ่งต้องรอ 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นผลคืออาการแพนิคจะห่างลง และเมื่อเป็นขึ้นมาอาการก็จะเบาลงด้วย เมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นเลย ยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าบางตัว เช่น เล็กซาโปร (lexapro) โปรแซก (prozac) โซลอฟ (zoloft) ยากลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดการติดยาและสามารถหยุดยาได้อย่างช้าๆเมื่อโรคหาย ในการรักษาด้วยยาเราจะจ่ายทั้งยาป้องกันและยาแก้  

         เพราะในช่วงแรก ๆ ยาป้องกันยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยจะยังมีอาการจึงยังต้องใช้ยาแก้อยู่ เมื่อยาป้องกันเริ่มออกฤทธิ์ผู้ป่วยจะกินยาแก้น้อยลงเอง แพทย์จะค่อยๆเพิ่มยาป้องกันจนผู้ป่วย "หายสนิท" คือไม่มีอาการเลย แล้วให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปเป็นเวลา 8-12 เดือน หลังจากนั้นจะให้ผู้ป่วยค่อยๆ หยุดยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้โดยไม่มีอาการกลับมาอีก แต่ก็มีบางรายที่มีอาการอีกเมื่อลดยาลง ในกรณีแบบนี้เราจะเพิ่มยากลับขึ้นไปใหม่แล้วค่อย ๆ ลดยาลงช้า ๆ
       
         2. ยาแก้ เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ใช้เฉพาะเมื่อเกิดอาการขึ้นมา เป็นทีกินที กินแล้วหายเร็ว ได้แก่ยาที่คนทั่วไปรู้จักกันในนามของยา “กล่อมประสาท” หรือยา “คลายกังวล” เช่น แวเลี่ยม (valium) แซแนก (xanax) อะติแวน (ativan) ยาประเภทนี้มีความปลอดภัยสูง (แปลว่าไม่มีพิษ ไม่ทำลายตับ ไม่ทำลายไต) แต่ถ้ารับประทาน ติดต่อกันนานๆ (2-3 สัปดาห์ขึ้นไป) จะเกิดการติดยาและเลิกยากและเมื่อหยุดยากระทันหันจะเกิดอาการขาดยา ซึ่งจะมีอาการเหมือนอาการแพนิค ทำให้แยกแยะไม่ได้ว่าหายหรือยัง ดังนั้นแพทย์จะเน้นกับผู้ป่วยว่าให้กินเฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้น ยังไม่เป็นห้ามกิน รอให้เริ่มมีอาการแล้วค่อยกินก็ทันเพราะมันออกฤทธิ์เร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น